วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

สถานที่ท่องเที่ยว

                                                

                                                 วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร

        อำเภอเมือง จ.นครปฐม
เป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด พระปฐมเจดีย์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ มีฐานแบบโอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 เนื่องจากรูปร่างของเจดีย์แบบโอคว่ำ มีลักษณะคล้ายกับสาญจีเจดีย์ในอินเดีย ซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์ใหม่เสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2413 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี พระเจดีย์องค์ใหม่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม รูประฆังคว่ำแบบลังกา มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว (หรือประมาณ 120.5 เมตร) ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17 วา 3 ศอก (หรือประมาณ 233 เมตร) ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามมากขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 พระปฐมเจดีย์ เปิดตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. ค่าเข้าชมชาวต่างประเทศ 40 บาท ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี จะมีงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ โทร. 0 3424 2143 นอกจากนี้ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้

พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือ หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท มาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2456 แล้วอัญเชิญไปประดิษฐาน ไว้ในซุ้มวิหารด้านทิศเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดนครปฐมทั้งสมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป หินบดยา ลูกประคำดินเผา กำไลข้อมือ เงินโบราณ ฯลฯ และยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลและโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้ในพิธีศพของย่าเหลซึ่งเป็นสุ
นัขที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปรานมากและถูกคนลอบยิงตาย พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.30 น. (ปิดช่วงเวลา 12.00–13.00)

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเทศอาเซียน

                                                                 

                                                                 Asean


     ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
    วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ review iphone4s

iPhone 4S มาในรูปร่างเดิมของ iPhone 4 ด้านนอกเรียกว่าแทบไม่เปลี่ยนอะไร แต่ฮาร์ดแวร์ข้้างในมีการปรับเปลี่ยนเยอะพอควร

iPhone 4S เป็น iPhone รุ่นที่ 5 นับตั้งแต่แอปเปิ้ลออกรุ่นแรกมาเมื่อปี 2007 ครั้งนี้แอปเปิ้ลยังไม่มีอะไรก้าวกระโดดในรูปเรื่องร่างหน้าตาภายนอก ส่วนข้างในในส่วนของซีพียูไม่ต้องเดาก็พอทราบกันอยู่แล้วว่าใช้ซีพียู A5 เหมือนที่อยู่ใน iPad 2 ส่วนอื่น ๆ ที่เป็นส่วนที่ดีขึ้นลองไล่อ่านกันดูนะครับว่าดีขึ้นมากน้อยแค่ไหน

รูปร่างเดิม

เครื่องสีดำ (บน) : iPhone 4S / เครื่องสีขาว (ล่าง) : iPhone 4
สำหรับ iPhone 4S รูปร่างหน้าตาอย่างที่เห็น ๆ กันอยู่ว่าหน้าตาโคลนนิ่งมาจาก iPhone 4 ภายนอกมีจุดต่างให้สังเกตแค่เพียงเล็กน้อยตรงด้านซ้ายของเครื่องที่ต่ำแหน่งปุ่มปุ่มเปิด/ปิดเสียงจะเยื้องลงมาด้านล่างเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ iPhone 4 และด้านบนของปุ่มเปิด/ปิดเสียงจะมีเส้นสีดำที่เป็นฉนวนแบ่งกรอบรับสัญญาณ นอกนั้นไม่ว่าจะดูมุมไหนก็แยกไม่ออกว่าเป็น iPhone 4S หรือ iPhone 4 ตัวเครื่องมีให้เลือกสองสีคือสีขาวและสีดำ
พวกอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มาด้วยในกล่องยังคงเดิมคือหูฟังที่มีรีโมทและไมค์, สาย USB สำหรับเสียบชาร์จไฟ และอแดปเตอร์ ซึ่งเจ้าอแดปเตอร์มีเปลี่ยนนิดหน่อย โดยอแดปเตอร์ที่มาในกล่อง iPhone 4S จากเดิมที่จะสกรีนว่า iPod USB Power Adapter เปลี่ยนเป็น 5W USB Power Adapter เพื่อให้เป็นไปทางเดียวกันกับอแดปเตอร์ของ iPad (10W USB Power Adapter) แม้จะเปลี่ยนชื่อใหม่แต่สเป็คในการจ่ายไฟก็ยังเหมือนเดิมไมไ่ด้มีอะไรเปลี่ยนแปลง
(สำหรับอแดปเตอร์ที่มากับ iPhone 4S บางกล่องยังสกรีนแบบเดิมคือ iPod USB Power Adapter  ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะครับ ไม่ต้องกังวลเพราะการจ่ายไฟก็เหมือน ๆ กัน)

สเป็คเครื่อง

ซ้าย : iPhone 4 / ขวา : iPhone 4S
สำหรับสเป็คฮาร์ดแวร์ของ iPhone 4S จะว่าเปลี่ยนเยอะก็ไม่เชิงจะน้อยก็ไม่ใช่ ประมาณว่าเปลี่ยนไปพอเห็นรู้สึกแตกต่าง โดย iPhone 4S มีจุดที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือใช้ซีพียู A5, มีรุ่นความจุ 64GB เป็นครั้งแรก, รองรับความเร็ว 3G ที่ 14.4Mbps, กล้องถ่ายรูปด้านหลัง 8 ล้านพิกเซล, ถ่ายวิดีโอได้ที่ 1080p, มีระบบกันสั่นขณะถ่ายวิดีโอ ส่วนด้านซอฟท์แวร์ที่ถือว่าเป็นฟีเจอร์ไฮไลต์หนีไม่พ้น Siri ซึ่งทั้งหมดนี้คือจุดเด่นที่เพิ่มขึ้นใน iPhone 4S

การใช้งาน

สำหรับคนที่ใช้ 3GS หรือก่อนหน้า ถ้าเปลี่ยนมาใช้ iPhone 4S จะรู้สึกได้ว่าเร็วกว่าเยอะมากๆ เพราะพออัพ iOS 5 อะไร ๆ ใน iPhone 3GS ก็ดูช้า ๆ ไปหมด แต่ถ้าเป็นคนที่ใช้ iPhone 4 แล้วเปลี่ยนเป็น iPhone 4S จะมีจุดที่รู้สึกว่าเครื่องใหม่ทำงานได้เร็วขึ้นอยู่ไม่เยอะนักในการใช้งาน ซึ่งจุดที่พอสังเกตได้ว่า iPhone 4S ทำได้ดีและเร็วกว่าอย่างเช่นในแอพฯ iMovie (ต้องซื้อเพิ่ม ราคา $4.99) ที่ตอนใช้งานเวลาเลือกใช้คำสั่งต่าง ๆ จะตอบสนองทันใจมากขึ้นกว่าการใช้บน iPhone 4 ซึ่งเป็นจุดที่ผมเห็นชัดที่สุดในการใช้งาน เรื่องการกดเปิดแอพกล้องถ่ายรูปก็เป็นอีกจุดที่ iPhone 4S ทำได้เร็วกว่าเดิมตามที่ควรเพราะสเป็คใหม่กว่า การเรนเดอร์หน้าเว็บต่าง ๆ บน Safari ทำได้รวดเร็วมากขึ้น โดยผมทดสอบเปิดหน้าเว็บ pantip.com/cafe/mbk ที่หน้าเว็บยาวมาก ผลจากการทดสอบเทียบระหว่าง iPhone 4S, iPhone 4 และ iPhone 3GS สรุปได้ว่าการเรนเดอร์หน้าเว็บ iPhone 4S ทำได้ดีกว่า iPhone 4 (ไม่ต้องพูดถึง iPhone 3GS) ส่วนการเปิดใช้แอพฯทั่วไปอย่าง Facebook, Instagram, Echofon, Tweetbot, Path และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ต้องการๆประมวลผลกราฟิคมากอะไรให้ผลไม่ต่างกันในการใช้งาน

3G เร็วขึ้น ?

ด้านการรองรับ 3G ของ iPhone 4S จะรองรับความเร็ว 3G ที่ 14.4/5.6 Mbps (ดาวน์โหลด/อัพโหลด) แม้ตัวเครื่องจะรองรับความเร็วเพิ่มขึ้น แต่ในการใช้งานจริงก็ขึ้นอยู่กับ 3G ในช่วงเวลาที่เราใช้งานของแต่ละค่ายมือถือด้วยว่าตรงจุดที่เราใช้งานมีผู้ใช้หนาแน่นแค่ไหน ซึ่งก็จะมีผลกับความเร็ว 3G ที่เราได้ใช้งานด้วย เป็นต้น โดยความเร็ว 3G เท่าที่พบทดสอบด้วยแอพฯ SpeedTest (เลือกเซิฟเวอร์เป็นกรุงเทพฯ) ความเร็วที่ทำได้ดีที่สุดในส่วนของดาวน์โหลดเท่าที่ผมทดสอบได้คือ 9.82 Mbps ไม่ขี้เหร่นักเมื่อคิดว่าเครื่องรับได้ 14.4 Mbps แต่นั่นก็เป็นเพียงครั้งเดียวที่ผมได้ นอกนั้นความเร็ว 3G ที่ทดสอบได้อยู่ในช่วง 2-4 Mbps ซึ่งความเร็วที่ได้ประมาณนี้บน iPhone 4 ก็สามารถทำได้เช่นกัน
สำหรับใน Settings ของ iPhone 4S แอปเปิ้ลได้ตัดปุ่ม Enable 3G ออกไปเหลือแต่ปุ่ม Cellular Data ที่เป็นการรวมดาต้าของ EDGE และ 3G ไว้ด้วยกันในปุ่มเดียวทำให้บางครั้งการที่เราจะปิดแค่ 3G เหมือนบน iPhone รุ่นก่อนหน้าเพื่อประหยัดแบตเตอรี่ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เพราะถ้าปิด Cellular Data จะเท่ากับปิดการงานในส่วนของดาต้าทั้งหมด

กล้องถ่ายรูป

เรื่องกล้องถ่ายรูปใน iPhone 4S ถือเป็นจุดเด่นที่หลายคนตั้งหวังว่าจะเทพจริงอย่างที่แอปเปิ้ลโม้บนเวทีเมื่อตอนเปิดตัว โดยขนาดเซ็นเซอร์เพิ่มจาก 5 ล้านพิกเซลใน iPhone 4 มาเป็น 8 ล้านพิกเซลใน iPhone 4S จุดนี้หลายคนอาจจะคิดว่าแจ๋วขึ้นมาก แต่ลองคิดว่าขนาดของเซ็นเซอร์จริง ๆ ตัวเล็กมาก ๆ การเพิ่มแค่ความละเอียดไม่ได้ทำให้ภาพของ iPhone 4S จะดีขึ้นมากสักเท่าไหร่ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้คนที่ได้ลองแล้วชอบคือเรื่องเลนส์ที่แอปเปิ้ลมีการปรับปรุงให้ดี่ขึ้นจนภาพที่ได้เห็นได้ชัดว่าดีขึ้นจาก iPhone 4 (เมื่อปีที่แล้วก็ว่าดีขึ้นเยอะแล้วนะ)
ในส่วนของเลนส์แอปเปิ้ลเพิ่มชิ้นเลนส์เข้ามาใน iPhone 4S อีก 1 ชิ้น (รวมเป็น 5 ชิ้น) ทำให้รูปภาพที่ได้จาก iPhone 4S เก็บรายละเอียดได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ iPhone 4 เช่นในส่วนที่เป็นเงาจากแสงอาทิตย์ส่องเข้ามา ส่วนการถ่ายภาพในตอนกลางคืนจะเห็นได้ชัดเจนว่าภาพที่ถ่ายด้วย iPhone 4S จะไม่มีแสงแฟลร์ (Flare) หรือแสงฟุ้ง เมื่อถ่ายไปที่ดวงไฟหรือถ่ายย้อนแสง ซึ่งตรงนี้เป็นความดีความชอบของเลนส์ที่ดีขึ้น
ซึ่งทั้งหมดทำให้ภาพที่ได้จาก iPhone 4S มีความใสขึ้นและสีสมจริงมากขึ้นเมื่อเทียบกับ iPhone 4 ที่จะให้สีจัดเกิดจริงเมื่อนำภาพที่ได้จากทั้งคู่มาเทียบกัน ส่ิงที่ดีขึ้นอีกอย่างคือ White Balance ใน iPhone 4S วัดแสงได้แม่นและถูกต้องมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 
สำหรับวิดีโอที่ถ่ายบน iPhone 4S จะเป็น 1080p (1920×1080 พิกเซล) ซึ่งความละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาถึงเท่าตัวเมื่อเทียบกับ iPhone 4 ที่ถ่ายได้แบบ 720p (1280×720 พิกเซล) ทำให้ขนาดไฟล์ 1 นาทีที่ถ่ายได้จาก iPhone 4S มีขนาดใหญ่ถึง 200 MB ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่ต้องเลือกซื้อรุ่นที่มีความจุเยอะขึ้นจากเดิมสำหรับคนที่ชอบถ่ายวิดีโอใน iPhone แล้วไม่ค่อยได้โอนลงคอมพิวเตอร์ (ประมาณว่าเก็บแช่ไว้แบบนั้นจนลืมกันไปข้างหนึ่ง) ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วถ่ายวิดีโอ 10 นาทีจะต้องใช้พื้นที่มากถึง 2GB เลยทีเดียว ปัญหาของขนาดไฟล์คงไม่ได้เป็นภาระเฉพาะบน iPhone 4S เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งตรงนี้ก็คงต้องแนะนำให้หาฮาร์ดดิกส์แบบภายนอกมาเก็บไฟล์เป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

thn23284

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ   ศกลวรรณ  จั่นมณี      ชื่อเล่น:แตงกวา
ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 /2  อายู13ปี
เกิดวันที่19 เมษายน 2542 
สถานศึกษา: โรงเรียนถาวรานุกูล
ที่อยู่:152 ม.3 ต. ขุนพิทักษ์ อ. ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
profile
  My name is sakonwan  Junmanee  mynicname is  Tangkwa
my class M.2/2   Age 13
birthday 19/04/1999
my school is thawaranukul
address:152 M.3 T.khulpithuk A. dumnenesadouk J. Raschaburi